สหพันธรัฐเยอรมนี

หรือเรียกสั้นๆว่าเยอรมัน หรือ เยอรมันนีตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรปล้อมรอบด้วย ประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศคือ เดนมาร์กอยู่ทาง เหนือ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส อยู่ทางตะวันตก สวิสเซอร์แลนด์และออสเตรียอยู่ทางใต้ สาธารณรัฐเซ็ค และโปแลนด์อยู่ทางตะวันออก นับเป็นประเทศในยุโรป ที่มีจำนวน เพื่อนบ้านมากที่สุด เยอรมันนีมีพื้นที่ประมาณ 357,022 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทาง ตอนเหนือของประเทศติดกับทะเลเหนือและทะเลบัลติ ทางใต้จรดเทือกเขาแอลป์ ์ในรัฐบาวาเรียนระยะทางส่วนที่ยาวที่สุดจากเหนือจรดใต้ประมาณ 876 กิโลเมตร จากตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 640 กิโลเมตร ภูิมิประเทศของเยอรมันมีทิวทัศน์ที่ ์งดงามแตกต่างกันไปหลายรูปแบบทั้งเทือกเขาสูงต่ำสลับกับที่ราบสูงและพื้นที่ ลดหลั่น เป็นขั้นเนินเขาทะเลสาบท้องทุ่งที่มีพุ่มไม้ปกคลุมเนินทราย และบริเวณปากแม่น้ำ ที่สวยงามส่วนทางตอนใต้แถบที่ราบสูงชวาเบียนบาวาเรียนเต็มไปด้วยเนินเขา และทะเลสาปขนาดขนาดใหญ่ มีบริเวณครอบคลุมถึงเทือกเขาแอลป์ในส่วนของเยอรมัน

ลักษณะภูมิอากาศและฤดูกาล

 

เยอรมันนีตั้งอยู่ในแถบลม ตะวันตกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นปานกลาง ระหว่างมหาสุมทรแอตแลนติก และภูมิอากาศแบบทวีปในเขต ตะวันออก ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิอย่างมาก มีฝนตกตลอดทุกฤดูกาล ในฤดูหนาวแถบที่ราบต่ำ อุณหภูมิเฉลี่ยคือ 1.5 องศาเซลเซียส และแถบเทือกเขา -6 องศาเซลเซียส ส่วนค่าเฉลี่ยเดือนกรกฏาคม แถบที่ราบต่ำคือ 18 องศาเซลเซียส และแถบหุบเขาร่มรื่นปราศจากแสงแดดทางใต้ 20 องศาเซลเซียส แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงหุบเขาของแม่น้ำไรน์ตอนบนซึ่งมีภูมิอากาศสบาย และไบเอิร์๋นตอนบน ซึ่งมีลมอุ่นพัดผ่านอย่างสม่ำเสมอ ร่วมด้วยลมใต้อบอุ่นจากเทือก เขาแอลป์ ตลอดจนเทือกเขาฮาร์ซ อันมีกระแสลมหนาว มีฤดูร้อนที่หนาวเย็น และฤดู หนาวที่เต็มไปด้วยหิมะ จึงเป็นเขตภูมิอากาศที่มีลักษณะเฉพาะตัว ลักษณะอากาศของเยอรมันเป็นเบบค่อนข้างหนาวเย็น มี 4 ฤดู คือ

– ฤดูร้อน (มิุนายน – สิงหาคม) อุณหาภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส
– ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – พฤศจิกายน ) อากาศจะเย็นลงและมีฝน ใบไม้จะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง ดูสวยงาม
-ฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 5 องศา ถึงลบ 5 องศา เซลเซียสโดยจะมีหิมะตกบ้าง
– ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – พฤษภาคม) อากาศจะอุ่นขึ้น ดอกไม้เริ่มบานและต้นไม้จะแตก ใบอ่อนนำความเขียวขจีกลับมาอีกครั้ง

 

เวลา

การแบ่งเวลาของเยอรมันเป็นแบบ ยุโรปตอนกลาง ซึ่งเวลาจะ ช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง มีนาคม ส่วนในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเดือนเมษายน ถึง ตุลาคม เวลาจะช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่่วโมง

ประชากร

เยอรมันมีประชากรประมาณ 82.6 ล้านคนซึ่งมากเป็น อันดับสองรองจากรัสเซียในจำนวนนี้ 7.3 ล้านคนเป็น ชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรงงานอพยพมาจากตุรกี ยุโรปตอนใต้ และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มเข้ามา ตั้งแต่ช่วงหลัง ค.ศ.1960 ซึ่งนับมาถึงปัจจุบันก็เป็นรุ่นที่ 2 และ 3 และชาวเยอรมันสืบเชื้อ สายมาจากเผ่าพันธุ์เยอรมันดั้งเดิมหลายเผ่า เช่นเ่ผ่าซัคเซค และบาวาเรียน ซึ่งปัจจุบัน เราไม่เห็นความแตกต่างนี้แล้วแต่ยังมีคนเยอรมันบางกลุ่มที่ยังคงรักษา ขนบธรรมเนียม และพูดภาษาเผ่าดั้งเดิมของตน โดยใช้เป็นภาษาถิ่นต่างๆ กันไป การหลั่งไหลเ้ข้ามา ของชาวต่างชาิติก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเยอรมัน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งตามเมืองใหญ่ๆ เยอรมันเป็นสังคมเปิดกล่าวคือ ยอมรับผู้คนซึ่งอพยพเข้ามาที่หลบภัย และผู้อพยพหนีสงคราม การให้มีการเปิดเสรีสำหรับผู้ใช้แรงงานเป็นกลุ่มผู้นำการต่อสู้ เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพ และเลือกถิ่นที่อยู่ในภายในสหภาพยุโรป

ศาสนา

 

ชาวเยอรมันกว่า 55 ล้านคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ โดยมีนิกายโปรแตสแตนท์ มีผู้นับถือประมาณ 27.6 ล้านคน นิกายโรมันคาทอลิก 27.5 ล้านคน เยอรมันไม่มีศาสนาประจำชาติ การมีแรงงานต่างชาิติ เข้ามาทำงานทำให้มีชุมชนนับถือศาสนาอื่น ๆ จำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิส ลาม ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาอิสลามในเยอรมันประมาณ 2.6 ล้านคนจาก 41 ชาติทั่วโลก นอกจากนั้นก็มีผู้นับถือศาสนายิว ฮินดู และพุทธ

ระบบการเมือง

 

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบบเผด็จการนาซีล่มสลายมีการ แบ่งเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศในปี ค.ศ.1949 คือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก (ซึ่ประเทศทั้งสองได้รวมกันเป็นเอกภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1990) เยอรมันตะวันตกมีรัฐธรรมนูญที่เป็นเสรีประชาธิปไตยประกอบด้วย ประธานาธิบดีสหพันธ์ (President) มีรัฐสภา ซึ่งแบ่งเป็นสภาสูง(Bundestag) และสภา ล่าง (Bundesrat) หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี สิ่งที่น่าภาคภูิมิใจในรัฐธรรมนูญ เยอรมันก็คือ การระบุความสำคัญของสิทธิพื้นฐาน คนเยอรมันนับถือในเกียรติของความ เป็นมนุษย์์ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตามสามารถ เรียกร้องสิทธิ พื้นฐานที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพใน ทรัพย์สิน และเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์การเผยแพร่ข่าวสารของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จะทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อ ตั้งสหภาพยุโรปการออกเงินตราของสหภาพยุโรปและสมาชิกขององค์กรนาโต้ (NATO) ในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันตะวันออกซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตย เยอรมัน และปกครองแบบสังคมนิยมได้รวมประเทศเข้ากับเยอรมันตะ่วันตกกลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีในปัจจุบันการปกครอง

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี ประกอบด้วย 16 รัฐคือ รัฐบาเดน-เวิอร์ทเทมแบร์ก, เบอร์ลิน เสรีรัฐไบเอิร์น, บรันเดนบวร์ก, เบรเมน เมืองฮันซิติคเสรี, ฮัมบวร์ก นครอันซิคติคเสรี, เฮสเซน, เมคเคนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น, นีเดอร์ซัคเซน, นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน, ซาร์ลันด์, ไรน์ลันด์-ฟัลส์, เสรีรัฐ ซัคเซน, ซัคเซน-อันฮัลท์, ชเสสวิก-โฮลชไตน์, เสรี รัฐเธอริงเงน แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง โดยสภาผู้แทนแห่งรัฐมาจากการ ได้รับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคต่างๆ ในรัฐนั้นๆ และสามารถออกกฏหมายใช้เองภาย ในรัฐได้เช่น ระบบการศึกษา รวมถึงระดับอุดมศึกษาอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของแต่ละรัฐ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

 

เยอรมันเป็นชาติอุตสาหกรรมและมีความมั่งคั่ง ทาง เศรษฐกิจ โดยมีการผลิตรวมเป็นอันดับสามของโลก และมีการค้าขายกับต่างชาติต่างๆ มากเป็นอันดับหนึ่ง เยอรมันมีระบบเศรษฐกิจและการค้าแบบเสรีนิยม แต่ในขณะเดีี่ยวกันรัฐจะเข้ามาดูแล สวัสดิการสังคมด้านต่างๆ เช่น การประกันสุขภาพ สวัสดิการ การว่างงาน และบำนาญผู้สูงอายุ เยอรมันเป็นถิ่นกำเนิดของบริษัทมากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ไปทั่วโลก เช่น ไดมเลอร์ไครัสเลอร์, BMW, ซีเมนส์, ไบเออร์, BASF และทิสเซน อุตสาหากรรมที่สำคัญก็คือ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และยานยนต์ รัฐจะถือนโยบาย สำคัญเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยรวม การให้บริการ สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐ ระบบที่ดีเยี่ยมในด้านการขนส่งสาธารณะ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคม สื่อสาร และการไปรษณีย์ เป็นสิ่งเสริมคุณภาพชีวิต ที่ดีในประเทศเยอรมัน

ภาษา

 

ภาษาเยอรมันจัดเป็นกลุ่มหลักใน ภาษาอินโด-เจอร์มานิค แต่จัดเป็นภาษาเจอร์มานิค ในกลุ่มหลักอีกทีหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาเดนิช นอร์เวย์ สวีดิช ดัตช์ และ เฟลมิช รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย เมื่อตอนปลายสมัยกลางนั้น มีภาษาเขียนตามท้องถิ่น เป็นจำนวนมาก แต่หลังจากเผยแพร่คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลของลูเธอร์ อย่างกว้างขวาง แล้ว ภาษาเขียนอันเป็นเอกภาพก็ค่อยปริวรรตน์ขึ้น ภาษาเขียนดังกล่าวมีรากฐานส่วน ใหญ่มากจากภาษาทางการซัคเซน(ไมน์เนอร์) เยอรมันนีมีภาษาถิ่นจำนวนมาก ฉะนั้น ภาษาถิ่นและสำเนียงจึงบ่งบอกว่าแต่ละคนมาจากภูิมิภาคใด ด้วยเหตุนี้ถ้าชาวเมคเคลนบวร์กสนทนา กับชาวไบเอิร์นด้วยภาษาท้องถิ่นของตน ก็จะทำความเข้าใจกันด้วยความ ยากลำบากยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตมีคนหลายเผ่าอาศัยอยู่ในบริเวณอันเป็นเยอรมันนี ปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ เผ่าฟรังค์ื ซัคเซน ชวาเบน และไบเอิร์น แม้ว่าทุกวันนี้เผ่าพันธุ์เก่าแก่ เหล่านี้จะไม่ปรากฏในรูปแบบดั้งเดิมแล้วก็ตาม ขนบธรรมเนียมและภาษาถิ่นของพวกเขา ก็ยังดำรงอยู่ต่อไปในกลุ่มภูมิภาคต่างๆ

ชนกลุ่มน้อย

 

ในชาติในเยอรมนีมีชนกลุ่มน้อยในชาติสี่ กลุ่ม ได้แก่ ชาวเซิร์บ (60,000) ฟรีเซน (10,000) เดน (50,000) และชาวซินที่กับโรมา-เยอรมนี (70,000) ชาวเซิร์บจากเลาซิทซ์เป็นอนุชน สืบเนื่องมาจากเผ่าพันธุ์สลาฟ ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเอลเบกับแม่น้ำซาเลในคริสต์ ศตวรรษที่ 6 ชื่อของพวกเขาปรากฏในเอกสารเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1174 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภาษาเขียนเซิร์บ ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากการปฏิรูปศาสนา ชาวฟรี เซนเป็นอนุชนสืบต่อมาจากเผ่าเจอร์มานิคตามชายฝั่งทะเลเหนือ (ระหว่างแม่น้ำนีเดอร์ไรน์กับแม่น้ำเอมส์) ชนกลุ่มนี้อนุรักษ์ภาษาของตนเอง อีกทั้งขนบธรรมเนียมอันมากมายไว้ได้เป็นอย่างดี ส่วนชนกลุ่มน้อยชาวเดน อาศัยอยู่ในรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ โดยเฉพาะรอบเมืองเฟลนส์บวร์กสำหรับ จำนวนชาวซินทีและโรมา ที่มีสัญชาติเยอรมันนั้นได้เป็นเพียงตัวเลขประมาณการเท่านั้น มีคณะกรรมการกลางชาวซินทีและโรมาเยอรมัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของสหพันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ดำเนินการเพื่อให้การชดเชยแก่ผู้มีรอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ตลอดจนเพื่อสิทธิของชนกลุ่มน้อย และปกป้องภาษาของชาวโรมา อีกทั้งยังต่อต้านการเหยียดเผ่าพันธุ์และการมีอคติด้วยพลเมืองที่มีพื้นภูมิ จากการอพยพ ขณะนี้มีผู้อพยพอาศัยอยู่ในเยอรมนีประมาณ 7.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของประชากรทั้งหมดนับ แต่ตั้งทศวรรษ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ได้มีคนงานชาวต่างชาติทั้งชายและหญิงเดินทางเข้ามาในเยอรมนีตะวันตก ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจขยายตัว และต้องการกำลังงานเพิ่มเติม คนเหล่านี้ถูกเรียกว่าคนงานอาคันตุกะ ในตอนแรกเป็นชาวอิตาเลียน ต่อมาจึงตามมาด้วยชาวสเปน ปอร์ตุเกส ยูโกสลาเวีย และตุรกี คนเหล่านี้จำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ ต่อไปในเยอรมนี ประมาณสองในสามของผู้อพยพได้ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีมาแล้วแปดปี หรือนานกว่านั้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2545 ส่วนอีกหนึ่งในสามตั้งรกรากอยู่ ในสหพันธ์สาธารรัฐเยอรมนียาวนานกว่า 20 ปี ฉะนั้นจึงมีเด็ก และเยาวชนซึ่งมีภูมิหลังจากการอพยพ จำนวนมากกว่าสองในสามถือกำเนิดในเยอรมนี

ขอบคุณแหล่ง ที่มา สถาน เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี กรุงเทพฯ